Tears Of Joy Line Smiley

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันที่ 12 กันยายน 2559


ความรู้ที่ได้รับ

เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์

นำลักษณะทางธรรมชาติของแต่ละสาระวิชามาผสมผสานและจัดเป็นการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน

เน้นการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน


“STEM” กับการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย


  • “STEM” แทรกเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหน่วยที่ครูจัดขึ้น หรือเลือกตามหน่วยที่เด็กสนใจได้อย่างหลากหลาย จะทำให้เด็กสนุกกับการเรียนในห้องมากขึ้น 
  • การศึกษาแบบ “STEM” เป็นการศึกษาที่ช่วยทำให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เปลี่ยนการเรียนแบบท่องจำมาเป็นการเรียนรู้แบบลงมือทำ ปฏิบัติจริง ทดลอง สืบค้น และใช้วัสดุอุปกรณ์ 
  • ทำให้เด็กได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ ได้รับความสนุกสนาน และมีความสนใจในวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ มากยิ่งขึ้น 


STAM vs สาระที่ควรเรียนรู้





การนำ “STEM” มาบูรณาการกับทักษะทางศิลปะ “Art” 

เพื่อจะทำให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และมีจินตนาการในการออกแบบชิ้นงานนั้น ๆ ให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น






กิจกรรมวันนี้

กิจกรรมตกแต่งผีเสื้อจากจานกระดาษ











กิจกรรมสร้างกรงผีเสื้อน้อย




และกิจกรรมสุดท้ายคือ

stop motion

เป็นการสร้างวีดีโอวงจรชีวิตผีเสื้อจากดินน้ำมัน


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใชกับกิจกรรมอื่นๆโดยการบูรณาการ stem steam ลงไปในกิจกรรมนั้นๆ



ประเมินตนเอง

วันนี้สนุกสนานกับกิจกรรมที่อาจารย์จัดให้เป็นอย่างมาก

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆช่วยทำงานกลุ่มกันเป็นอย่างดีทำให้การเรียนสนุก

ประเมินอาจารย์

อาจารย์เป็นกันเองให้คำแนะนำและความรู้ที่ดีเสมอ

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
5 กันยายน 2559


ความรู้ที่ได้รับ

การเล่น
กระบวนการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เด็กได้รับ
ทำให้เด็กเกิดความสนุกเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย
ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสิ่งแวดล้อม

พัฒนาการการเล่นของเด็กว่ามี 3 ขั้น Piaget

1. ขั้นการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส (Sensorimotor Play)
2. ขั้นการเล่นสร้างสรรค์ (Constructive Play)
3. ขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Play)

ประเภทของการเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

  1. การเล่นกลางแจ้ง
  2. การเล่นในร่ม
  • การเล่นตามมุมประสบการณ์
  • การเล่นสรรค์สร้าง

การเล่นที่ให้โอกาสเด็กคิดค้นวิธีเล่นอย่างอิสระ และเล่นได้หลายวิธี
ใช้ความคิดพลิกแพลงวิธีเล่นให้แตกต่างไปจากเดิม
เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง


กิจกรรมในวันนี้
กิจกรรม Marshmallow Tower

สามารถจัดในมุมเสริมประสบการณ์ได้





ต่อให้สูงที่สุดโดย
รอบที่1.ไม่มีการปรึกษากันภายในกลุ่ม
รอบที่2.ผู้นำพูดได้เพียงคนเดียว
รอบที่3.สามารถปรึกษาได้ทั้งกลุ่ม
ดูการเปลี่ยนแปลงระหว่าง 3รอบว่าสูงขึ้นหรือไม่





กิจกรรมต่อมาซอสมะเขือเทศ

จากอุปกรณ์ที่ได้รับมานำมาต่อเป็นเรือรูปแบบใดก็ได้โดยไม่กำหนดและนำไปลอยในน้ำใส่ซองซอสมะเขือเทศให้ได้มากที่สุด




กิจกรรมสุดท้าย
ออกแบบสุดจากกระดาษหนังสือพิมพ์










การนำความรู้ไปใช้
สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ตามสถานการณ์ต่างๆและปรับใช้กับกิจกรรมอื่นๆ

ประเมินตนเอง
ร่วมกิจกรรมได้อย่างสนุกสนานและตั้งใจฟัง

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆร่วมกิจกรรมอย่างสนุกสนานใช้ทักษะความคิดร่วมกันได้ดี

ประเมินอาจารย์
อาจารย์นำกิจกรรมน่ารักๆมาให้ทำและสนุกสนาน

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1
29 สิงหาคม 2559

ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์ได้พูดคุยเกี่ยวกับเนื้อหารายวิชาและสอนการร้องเพลงภาษาอังกฤษ




จากนั้นก็เรียนเนื้อหาการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนา ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ 4 ด้าน Guilford
1. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency)
  • ด้านถ้อยคำ (Word Fluency)
  • ด้านการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ (Association Fluency)
  • ด้านการแสดงออก (Expressional Fluency)
  • ด้านการคิด (Ideation Fluency)

2. ความคิดริเริ่ม (Originality)
  • ความคิดแปลกใหม่และแตกต่างไปจากความคิดธรรมดาหรือแตกต่างจากบุคคลอื่น

3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility)
  • ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility)
  • ความคิดยืดหยุ่นทางการดัดแปลง (Adapture Flexibility)

4.ความคิดละเอียดลออ (Elaboration)
  • ความคิดที่เกี่ยวกับรายละเอียดที่ใช้ในการตกแต่ง
  • เพื่อทำให้ความคิดริเริ่มนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น


ความคิดสร้างสรรค์ไม่สามารถบังคับให้เกิดขึ้นได้ แต่สามารถส่งเสริมให้เกิดขึ้นได้




กิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ของวันนี้     

กิจกรรมลากเส้นโดยไม่ยกมือตามเสียงเพลง






กิจกรรมต่อมา

กิจกรรมพับเครื่องบินกระดาษโดยไม่กำหนดรูปร่างรูปทรงต่างๆตามความคิดของเรา และนำเครื่องบินกระดาษที่พับไปโยนให้ลงกล่อง




การนำความรู้ไประยุกต์ใช้

สามารถนำกิจกรรมต่างๆที่ได้เรียนในวันนี้ไปปรับใช้ในรายวิชาอื่นๆหรือเสริมทักษะกระบวนการความคิดสร้าสรรค์เพิ่มเติมลงไปได้

ประเมินตนเอง
ร่วมทำกิจกรรมและช่วยเหลือเพื่อนๆได้ดี

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจทำกิจกรรมได้ดี

ประเมินอาจารย์
กิจกรรมที่อาจารย์นำมาสอนมีความสนุกสนาน