Tears Of Joy Line Smiley

วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14
วันที่เรียน 30 พฤศจิกายน 2559


วันนี้เรียนครั้งสุดท้ายและส่งตราปั๊มเพื่อให้คะแนนเด็กดีและนัดแนะเรื่องตารางสอนเทอมหน้าค่ะ


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13
วันที่เรียน 21 พฤศจิกายน 2559

เนื้อหาที่เรียน


วันนี้เรียนเกี่ยวกับการรำและเต้นประกอบเพลงโดยใช้เพลงแบ่งกลุ่มเด็ก
จากนั้นก็ต่งนินทานและแสดง

นิทานมี 3แบบ
  1. แบบไม่มีคำบรรยาย คือคนแสดงพูดเลย
  2. แบบมีคำบรรยายและผู้แสดงทำการแสดง
  3. แบบมีแต่คนพูดบรรยาย

การประยุกต์และการนำไปใช้Knowledge application
นินทานควรมีข้อคิดที่ทำให้เด็กได้เห็นภาพชัดเจน

ประเมินอาจารย์ Teacher
อาจารย์ให้คำแนะนำดีมาก

ประเมินตนเอง my self
ร่วมทำกิจกรรมอย่างดี

ประเมินเพื่อน my friend
สนุกสนานดี


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12
วันที่เรียน 14 พฤศจิกายน 2559

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

ต้องมีองค์ประกอบ 4 อย่าง คือ

       1. ร่างกาย
       2. พื้นที่
       3. ระดับ
       4. ทิศทาง

มี2รูปแบบคือ

      1. การเคลื่อนไหว   เคลื่อนที่ เช่น การวิ่ง การสไลด์
      2. การเคลื่อนไหว    อยู่กับที่ เช่น การตบมือ การกระโดดอยู่กับที่

วัตถุประสงค์

     1. เคลื่อนไหวประกอบเพลง
     2. เคลื่อวตามคำบรรยาย
     3. เคลื่อนไหวตามคำสั่ง
     4. เคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม
     5. เคลื่อนไหวตามข้อตกลง
     6. เคลื่อนไหวโดยความจำ

การบูรณาการความคิดสร้างสรรค์

- เคลื่อนไหวประกอบเพลง
 เด็กได้แสดงออกท่าทางการเต้นตามจังหวะเพลง
- เคลื่อวตามคำบรรยาย
 วิธีการแสดงออกตามเรื่องราวที่แตกต่างกันของเด็ก
- เคลื่อนไหวตามคำสั่ง
ความแตกต่างในการใช้ท่าทางในการเปลี่ยนทิศทางหรือท่าทาง
- เคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม
เด็กได้แสดงออกท่าทางที่สร้างสสรค์ในการเป็นผู้นำ และผู้ตาม
- เคลื่อนไหวตามข้อตกลง
 วิธีการแสดงท่าทางที่แตกต่างกันของเด็ก
- เคลื่อนไหวโดยความจำ
จะสอดคล้องการเคลื่อนไหวพื้นฐาน และเกี่ยวข้องกับ เคลื่อนไหวตามคำสั่ง และ ข้อตกลง




เคลื่อนไหวพื้นฐาน
   
      - เริ่มโดยครูกำหนดสัญญาณ  ถ้าครูเคาะ 1 ครั้ง ให้เด็กๆ กระโดด 1 ครั้ง
                                                     ถ้าครูเคาะ 2 ครั้ง ให้เด็กๆ กระโดด 2 ครั้ง
                                                     ถ้าครูเคาะรัวๆเร็วๆ ให้เด็กๆเคลื่อนที่ไปรอบๆห้อง
                                                     แต่ถ้าครูเคาะ 2 ครั้งติดกันให้เด็กๆหยุดอยู่กับที่

เคลื่อนไหวตามคำสั่ง    ถ้าคุณครูเคาะรัวๆ ให้เด็กโบกพัด
                                     ถ้าคุณครูเร็วขึ้นให้เด็กๆเปลี่ยนทิศทางการพัด

ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โดยการ บีบนวดแขน และ ขา



การประยุกต์และการนำไปใช้Knowledge application
ได้รู้ถึงการสอนเคลื่อนไหวและจังหวะลึกขึ้นที่สำคัญเรื่องคำพูดที่ใช้ในการพูดกับเด็กสำคัญมากเด็กจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็อยูที่การพูดของครู

ประเมินอาจารย์ Teacher
อาจารย์ให้คำแนะนำดีมากๆ

ประเมินตนเอง my self
ร่วมกิจกรรมอย่างดีแต่กดดันมาก

ประเมินเพื่อน my friend
เพื่อนๆร่วมกิจกรรมดีแต่ก็ไม่เข้าใจกับคำแนะนำของอาจารย์บ้าง


บันทึกการเรียนครั้งที่ 4
วันที่ 19 กันยายน 2559


การประยุกต์และการนำไปใช้Knowledge application
สามารถนำกิจกรรมที่บูรณาการเกี่วกับ สเตม ไปใช้ประโยชน์ในการสอนเด็กในหน่วยต่างๆ

ประเมินอาจารย์ Teacher
อาจารย์ให้คำแนะนำดีมากค่ะ

ประเมินตนเอง my self
ช่วยคิดกิกรรมต่างๆร่วมกับเพื่อนได้เป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน my friend
เพื่อนๆช่วยกันระดมความคิดในการทำกิจกรรมดี

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2559 
เนื้อหาที่เรียน


สิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากวัสดุเหลือใช้คือขวดน้ำนั้นคือที่ใส่แปรงสีฟันอเนกประสงค์


อุปกรณ์
  • ขวดพลาสติกขนาด 1.5ลิตร  1 ขวด
  • ปากขวดพลาสติก 3 อัน
  • กรรไกร
  • คัทเตอร์
  • เทียนและไฟแช็ค
  • เข็มขนาดไหญ่




วิธีการทำ


  1.  เจาะรูด้านบนของขวดพลาสติกโดยการนำเข็มขนาดใหญ่รนเทียนให้กิดความร้อนและค่อยๆเจาะให้เป็นวงกลมและมีขนาดพอดีกับปากขวดที่เตรียมไว้
  2. จากนั้นนำปากขวดใส่ลงไปในรู








3. เมื่อได้รูที่ใส่แล้วจากนั้นก็ตัดส่วนท้ายของขวดพลาสติกเพื่อสวมเข้ากับส่วนบนขวดพลาสติก


4. สวมส่วนบนและส่วนท้ายเข้าด้วยกัน





และมีของเล่นจากเพื่อนๆอีกหลายอย่างที่ทำจากวัสดุเหลือใช้ เช่นกระดาษลัง และกล่องลัง 




การใช้คำถามนำเข้าสู่การประดิษฐ์โดยการตั้งประเด็นปัญหา เราใช้แปรงสีฟันแล้วถ้าไม่มีที่เก็บแปรงสีฟันเราจะทำอย่างไรได้บ้าง
หรือการตั้งประเด็นปัญหาโดยประสบการณ์เช่นถ้าอยากให้เด็กมีประสบการณ์ในชีวิตประจำวันเกี่ยวกับห้องนอนเราจะทำอย่างไรได้บ้าง



การประยุกต์และการนำไปใช้Knowledge application

การตั้งประเด็นปัญหาเพื่อนำเข้าสู่กิจกรรมต่างๆนั้นเป็นการกระตุ้นให้เด็กได้ใช้ความคิดอย่างหนึ่งซึ่งคุณครูควรกระตุ้นให้เด็กได้ใช้ความคิดจากประสบการณ์เดิมที่ได้พบเจอหรือเห็นมาเพื่อเลือกสรรค์ผลงานที่หลากหลาย

ประเมินอาจารย์ Teacher
นำเสนองานวันนี้อาจารย์ได้ให้คำแนะนำที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ขอกงเพื่อนคนอื่นๆหรือของตนเอง

ประเมินตนเอง my self
ภูมิใจในสิ่งประดิษฐ์ของตนเองเพราะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

ประเมินเพื่อน my friend
ของประดิษฐ์ของเพื่อนๆทุกคนมีความน่าสนใจและสวยงามน่าเล่นน่าใช้อย่างมาก



บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันที่ 31 ตุลาคม 2559

เนื้อหาที่เรียน

การจัดกิจกรรมบูรณาการ
ความสำคัญของการจัดกิจกรรมบูรณาการเป็นการเชื่อมโยงความรู้และศาสตร์ต่างๆเข้าด้วยกันโดยคำนึงถึงพัฒนาการของเด็กแต่ละวัยกิจกรรมควรจัดให้เด็กได้ลงมือกระทำจากประสาทสัมผัสทั้งห้าการลงมือกระทำเป็นวิธีการเรียนรู้ของเด็ก

เป้าหมายการจัดกิจกรรมบูรณาการ

  • เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้
  • เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์ที่หลากหลาย
  • ส่งเสริมพัฒนาการทั้งสี่ด้านของเด็ก


ขอบข่ายการเรียนรู้พัฒนาการ


ด้านร่างกาย
  • สุขภาพอนามัยการเจริญเติบโตประสาทสัมผัสสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อและอวัยวะ

ด้านอารมณ์  จิตใจ
  • การแสดงออกทางความรู้สึก
ด้านสังคม
  • การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
  • การช่วยเหลือตนเอง
ด้านสติปัญญา
  • การคิดแบ่งออกเป็น 1.การคิดสร้างสรรค์ 2.การคิดเชิงเหตุผลแบ่งออกเป็นคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
  • ภาษา   ฟัง   พูด   อ่าน  เขียน
กระบวนการจัดกิจกรรมความคิดสร้างสรรค์เด็กได้มีโอกาสใช้ความคิดริเริ่มครูควรจัดอุปกรณ์ที่หลากหลายให้เด็กได้ทำกิจกรรมนั้นซ้ำๆเพื่อเกิดความคิดคล่องแคล่ว
เมื่อมีความคิดคล่องแคล่วเกิดขึ้นแล้วก็จะทำให้เกิดความคิดยืดหยุ่นเพื่อปรับใช้แก้ไขจากนั้นจะทำให้เด็กได้คิดละเอียดละออและจึงเกิดความคิดสร้างสรรค์ตามจินตนาการ


การให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากวัสดุเหลือใช้คือขวดน้ำนั้นคือที่ใส่แปรงสีฟันอเนกประสงค์


การประยุกต์และการนำไปใช้Knowledge application

วัสดุเหลือใช้นั้นเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากในงานประดิษฐ์ และกิจกรรมนั้นควรคิดให้กิจกรรมสามารถบูรณาการได้หลากหลายศาสตร์โดยกิจกรรมนั้นควรให้เด็กได้ลงมือกระทำและคิดอย่างเป็นระบบโดยการใช้คำถามกระตุ้น

ประเมินอาจารย์ Teacher
วันนี้อาจารย์ให้เลือกงานประดิษฐ์บางสิ่งก็ไม่เคยเห็นมาก่อน

ประเมินตนเอง my self
ตั้งใจหาสื่องานประดิษฐ์ที่จะต้องทำอย่างมาก

ประเมินเพื่อน my friend
เพื่อนๆช่วยกันหาสื่อให้เพื่อนที่คนไม่ได้รู้สึกมีความสามัคคีกันอย่างมาก

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วันที่ 24 ตุลาคม 2559

เนื้อหาที่เรียน

หยุดชดเชยวันปิยะมหาราช
บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วันที่ 17 ตุลาคม 2559 

ครูจะต้องเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้แก่เด็กเช่น

  • จัดเตรียมอุปกรณ์ที่หลากหลาย
  • สื่อในการเรียนการสอนมีความน่าสนใจและหลากหลาย
  • มีกลวิธีในการสร้างภาพ
  • ต้องกระตุ้นโดยการใช้คำถามสำหรับเด็กโดยคำถามนั้นควรเป็นคำถามปลายเปิดให้เด็กได้ใช้ทักษะทางด้านการคิดคำตอบได้หลากหลายเมื่อเด็กได้ตอบแล้วจะเกิดความภาคภูมิใจในตนเองและเชื่อมั่นในตนเอง
  • เมื่อเด็กทำดีครูควรเสริมแรงด้วยคำชมเชยหรือให้กำลังใจและยอมรับความแตกต่างของแต่ละบุคคล
ผลงานของเด็กแต่ละคนจะแสดงให้เห็นถึงความคิดของบุคคลนั้นนั้นโดยจะนำเด็กไปสู่ความคิดสร้างสรรค์

สื่อความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย วันนี้อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 10 คนและให้สมาชิกในกลุ่มเลือกรูปทรงเลขาคณิตคนละหนึ่งลูกห้ามซ้ำกันจากนั้นให้ออกแบบตามจินตนาการโดยการวาดภาพเป็นรูปอะไรก็ได้โดยต้องมีรูปทรงเลขาคณิตเป็นส่วนประกอบหลักเพราะเราจะต้องให้เด็กได้เห็นภาพที่ชัดเจนในรูปทรงเลขาคณิตที่วาด









จากนั้นก็ออกแบบให้สามารถเรียนรู้เรื่องรูปทรงให้ชัดเจนขึ้นโดยการ
ตัดรูปทรงเรขาคณิตเพื่อให้สามารถนำไปวางหรือสามารถใช้คำถามเกี่ยวกับรูปที่มีเรขาคณิตรูปนี้


นอกจากด้านคณิตศาสตร์แล้วยังมีการออกแบบให้มีการบูรณาการด้านภาษาเพื่อให้มีความหลากหลายทางด้านการใช้งาน












ออกแบบี่เก็บใส่สื่อให้มีความสวยงาม





การออกแบบชิ้นงานนั้น
  • ออกแบบจากประสบการณ์เดิมที่เคยเห็นมา
  • ออกแบบจากประสบการณ์เดิมและความคิดริเริ่มที่มีความแตกต่าง
  • ออกแบบจากประสบการณ์เดิมและการเชื่อมโยงสื่อถึงอารมณ์


การประยุกต์และการนำไปใช้Knowledge application

ความหลากหลายในการคิดสามารถสร้างสรรค์และออกแบบผลงานให้มีความหลากหลายอย่างได้ในชิ้นงานเพียงหนึ่งชิ้นการอำนวยความสะดวกแก่เด็กและยอมรับความแตกแต่งของแต่ละบุคคลนั้
เป็นสิ่งสำคัญที่ครูจะต้องยอมรับและให้ความสำคัญ

ประเมินอาจารย์ Teacher
อาจารย์จัดกิจกรรมสนุกสนาน

ประเมินตนเอง my self
วันนี้สนุกสนานและไม่กดดันในตัวเอง

ประเมินเพื่อน my friend
ช่วยกันระดมความคิดและออกแบบชิ้นงานอย่างสนุกสนาน


วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
วันที่ 10 ตุลาคม 2559 

องค์ประกอบความคิดสร้างสรรค์มี 5 องค์ประกอบ
1. ความคิดริเริ่ม (Originality)
 เป็นกระบวนการคิด และสามารถแตกความคิดจากเดิมไปสู่ความคิดแปลกใหม่ ที่ไม่ซ้ำของเดิม

2.ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency)

คือ ความสามาถของบุคคลในการคิดหาคำตอบได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็ว และมีคำตอบในปริมาณที่มาก ในเวลาจำกัด
  • -วีธีการหลากหลาย
  • -รูปแบบที่หลากหลาย
  • -วัสดุที่หลากหลาย
3.ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility)
คือ ความสามารถของบุคคลในการคิดหาคำตอบ ได้หลายประเภท และหลายทิศทาง

4.  ความคิดละเอียดละออ (Elaboration)

คือ ความคิดในรายละเอียด เพื่อตกแต่งหรือขยายความคิดหลักให้ได้ความเหมาะสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ความคิดละเอียดละออ เป็นคุณลักษณะที่จำเป็นยิ่งในการสร้างผลงานที่มีความแปลกใหม่ให้สำเร็จ

5.ความคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking)
ความสามารถทางสมองของบุคคลที่คิดได้หลายทิศทางหรือคิดได้หลายคำตอบและความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆโดยมีสิ่งเร้าเป็นตัวการ์ตูนกระตุ้นทำให้เกิดความคิดใหม่ต่อเนื่องกันไปและความคิดสร้างสรรค์นี้อาจเป็นความคิดใหม่ผสมผสานกับประสบการณ์เดิม

กิจกรรมคือสิ่งที่เด็กได้ลงมือกระทำและตองสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวันซึ่งมีดังนี้

สาระที่ควรเรียนรู้

1) เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก  เด็กควรรู้จักชื่อ นามสกุล รูปร่าง หน้าตาของตน รู้จักอวัยวะต่างๆ และวิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด  ปลอดภัย  มีสุขอนามัยที่ดี เรียนรู้ที่จะเล่นและทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองคนเดียวหรือกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และแสดงมารยาทที่ดี  ทั้งนี้ เมื่อเด็กมีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับตนเองแล้ว

2) เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก  เด็กควรได้มีโอกาสรู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน รวมทั้งบุคคลต่างๆที่เด็กต้องเกี่ยวข้อง  หรือมีโอกาสใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ เมื่อเด็กมีโอกาสเรียนรู้แล้วเด็กควรเกิดแนวคิด

3)ธรรมชาติรอบตัว  เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน  ฯลฯ  แนวคิดที่ควรให้เกิดหลังจากเด็กเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว

4)สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก  เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะและการสื่อสารต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก  ทั้งนี้เมื่อเด็กมีโอกาสเรียนรู้แล้วเด็กควรเกิดแนวคิด

ประสบการณ์สำคัญ
  • ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
  • ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
  • ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
  • ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา

กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม

1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือ เสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก รำมะนา กลอง ฯลฯ
2. กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ การวาดภาพระบายสี การปั้น การพิมพ์ภาพ การพับ ตัด ฉีก ปะ และประดิษฐุ์เศษวัสดุ ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์ การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกตามความรู้สึกและความสามารถของตนเอง
3. กิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระในมุมการเล่นกิจกรรมการเล่นแต่ละประเภทสนองตอบความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก
4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด และปฏิบัติการทดลอง ให้เกิดความคิดรวบยอดและเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การสนทนา ซักถามหรืออภิปราย สังเกต ทัศนศึกษา และปฏิบัติการทดลองตามกระบวนการเรียนรู้
5. กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ออกนอกห้องเรียนไปสู่สนามเด็กเล่นทั้งที่บริเวณกลางแจ้งและในร่มเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดเอาความสนใจ และความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก
6. กิจกรรมเกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน

ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
กำหนดเรื่องโดยการเลือกเรื่องนั้นต้องเป็นสิ่งใกล้ตัวเด็กอยู่ในชีวิตประจำวันและมีผลกระทบต่อเด็กเป็นต้น

การนำหัวเรื่องมาแตกองค์ความรู้ต้องมีหัวข้อดังนี้
  • ชื่อเรียก 
  • ลักษณะ
  • การดำรงชีวิต
  • ประโยชน์
  • ข้อควรระวัง

เด็กลงมือปฏิบัติให้ได้รับประสบการณ์ 4ด้าน

กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์วันนี้คือ  หน่วยแมลง
ประกอบด้วยกิจกรรม 4 ฐาน


ฐานที่ 1 เป่าสีฟองสบู่
บูรณาการหลักวิทยาศาสตร์เรื่องแรงดันอากาศโดยใช้ทักษะความคิดสร้างสรรค์ความคิดริเริ่ม




 ฐานที่ 2  สร้างสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์จากจานกระดาษ
 ฉันทำเป็นโมบายพระอาทิตย์และพระจันทร์โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์เรื่องกลางวันกลางคืน






ฐานที่ 3 ผีเสื้อปั๊มมือ   
บูรณาการวิทยาศาสตร์เรื่องผีเสื้อ




ฐานที่ 4 สร้างแมลงเลื่อนจากแกนกระดาษทิชชู่
บูรณาการทางคณิตสาดและวิทยาศาสตร์โดยใช้ทักษะทางความคิดสร้างสรรคือการคิดยืดหยุ่น


กิจกรรมที่จัดต้องให้เด็กได้เกิดความคิดที่แตกต่างและเด็กได้ใช้เกิดการเปรียบเทียบโดยใช้ทักษะการสังเกตและสามารถเลือกตัดสินใจซึ่งทำให้เกิดความรู้ใหม่

พฤติกรรมของครูที่พึงประสงค์

  1. รับฟังความคิดของเด็กไม่ปิดกั้นความคิดของเด็ก
  2. ไม่พูดให้เด็กเสียกำลังใจ
  3. ยอมรับความแตกต่างของเด็กแต่ละคน
  4. ให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทั้งเดี่ยวและกลุ่ม


การประยุกต์และการนำไปใช้Knowledge application

สามารถนำสิ่งของที่เหลือใช้ต่างๆมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ศิลปะที่มีความแตกต่างและหลากหลายจากการบูรณาการศาสตร์วิชาความรู้อื่นๆเข้าไป

ประเมินอาจารย์ Teacher
อาจารย์จัดกิจกรรมสนุกสนานและให้ความรู้แน่นมากๆ

ประเมินตนเอง my self
วันนี้สนุกสนานและได้รับความรู้อย่างมากจากการทำกิจกรรมทั้งสี่ฐาน

ประเมินเพื่อน my friend
เพื่อนๆตั้ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน



วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
วันที่ 3 ตุลาคม 2559 


แต่ละกลุ่มนำเสนอการสอนแบบ STEAM
 5 หน่วย
ขั้นตอนการสอน

เตรียมอุปกรณ์การสอนจากนั้นแนะนำกิจกรรมและแนะนำอุปกรณ์การทำโดยมีการสาธิตให้เด็กๆดู
จากนั้นให้เด็กๆลงมือทำ



หน่วยปลา







หน่วยยานพาหนะ

หน่วยไข่


หน่วยข้าว กลุ่มแรก



 หน่วยข้าวกลุ่มที่สอง


จะเห็นได้ว่ากิจกรรมที่แต่ละหน่วยได้จัดขึ้นนั้นครอบคลุม STEAM1 ในทุกหัวด้าน



การประยุกต์และการนำไปใช้Knowledge application
ประยุกต์ใช้ในกิจกรรมต่างๆโดยสามารถนำกิจกรรมที่เพื่อนๆนำเสนอในวันนี้สามารถนำไปดัดแปลงเพื่อการสอนเด็กได้ในอนาคต

ประเมินอาจารย์ Teacher
อาจารย์ให้วามรู้ในเรื่องกิจกรรมต่างๆที่อยู่ใกล้ตัวได้สนุกสนานและรับความรู้ได้อย่างเต็มๆ

ประเมินตนเอง my self
วันนี้สนุกสนานและได้รับความรู้อย่างมากจากการทำกิจกรรมต่างๆ

ประเมินเพื่อน my friend
เพื่อนๆตั้ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน